วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การบันทึกการเรียนครั้งที่7


บันทึกการเรียน
อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนและยกตัวอย่างเรื่องเกณฑ์หรือมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น มาตรฐานของอาหารที่เรารับประทานในแต่ละมื้อ และมาตรฐานของมหาวิทยาลัยที่เรากำลังศึกษา เป็นต้น
 - อาจารย์อธิบายถึงมาตรฐานสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

        สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวน และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการ
ต่าง ๆ และสามารถเลือกใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณ และแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวน และสามารถนำสมบัติที่เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้

      สาระที่ 2 : การวัด (Measurement)
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 วัด และคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค 2.4 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
  -  ต่อจากนี้อาจารย์ให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ
  งานที่ได้รับมอบหมาย

-  อาจารย์ให้ส่งสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พร้อมออกมานำเสนอทุกกลุ่ม


วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การบันทึกการเรียนครั้งที่6


วันนี้อาจารย์จ๋าให้นำกล่องมาคนละ กล่อง อาจารย์บอกว่ากล่องสามารถสอนเรื่องรูปทรง ปริมาณ ขนาด กล่องเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลายๆวิชา เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ดังนี้   ความเป็นปริมาณ การจับคู่ เศษส่วนคือทั้งหมดมีเท่าไร จับหนึ่งต่อหนึ่งแบ่งครึ่งหนึ่งของทั้งหมดไปทำงานศิลปะ การทำตามแบบ ครูทำให้เด็กดูแล้วให้เด็กเรียงตาม การอนุรักษ์วัตถุที่มีปริมาณคงที่แม้เปลี่ยนแปลงไปจุดเริ่มต้นเริ่มจากซ้าย                                                                                 
     กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ถามว่ากล่องที่อยู่ในมือของแต่ละคนนั้นสามารถนึกถึงอะไรได้บ้าง ดิฉันได้ตอบว่านึกถึงกล่อง     รับส่งจดหมาย หลังจากที่เพื่อนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นของตัวเองแล้วนั้นอาจารย์จ๋าให้จับกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 11 คน นำกล่องที่แตะละคนเตรียมมานั้น มาประกอบกันให้เป็นรูปอะไรก็ได้โดยมีเงื่อไขดังนี้ 
 -กลุ่มที่ คุยกันได้ วางแผนกันก่อน ( ประดิษฐ์เป็นรูปหุ่นยนต์)                                                           -กลุ่มที่ คุยกันได้แต่ลงมาติดที่ละคน  ( ประดิษฐ์เป็นตึกหลากสี )
 -กลุ่มที่ คุยกันไม่ได้ ( ประดิษฐ์เป็นสถานีรถไฟ )


สรุป                         
1.แต่ละกลุ่มจะเกิดปัญหาที่แตกต่างกัน และมีวิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกันตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้
2.เด็กเกิดประสบการณ์มากเกิดการเรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์เด็กเกิดมีข้อมูลมากเปิดโดยการที่ปรับเปลี่ยนความรู้ใหม่ถ้าแสดงออกมาเด็จะเกิดการเรียนรู้